คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปหรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี
กำหนดการและแบบการยื่นภาษีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเต็มปี (ภ.ง.ด.90,91)
ยื่นภายใน นกราคม - มีนาคมของปีถัดไปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ยื่นภายในกันยายนของปีภาษีนั้น
ปี 2564 กรณียื่นออนไลน์ยื่นได้ถึง 30 ธันวาคม 2564
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัตราอยู่ที่ 0% - 35%
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
กำหนดการและแบบการยื่นภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคลเต็มปี (ภ.ง.ด.50) ยื่นภายใน พฤษภาคมของปีถัดไปภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ภายในกรกฎาคม - สิงหาคมของปีภาษีนั้น ในปี 2564 กรณียื่นออนไลน์ยื่นได้ถึง 23 กันยายน 2564
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราอยู่ที่ 0% -20%มาดูการเปรียบเทียบ ความแตกต่างของการทำธุรกิจบุคคล กับ นิติบุคคล เพื่อจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจ
- มีความคล่องตัวสูงตัดสินใจได้รวดเร็ว
- ทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย (เฉพาะผู้มีเงินได้มาตรา40 (50)-40(8)
- เงินลงทุนจากเจ้าของ
- รับผลกำไร ขาดทุนเพียงผู้เดียว
- เจ้าของรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นเต็มจำนวน
- เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%)
- การตัดสินใจต่างๆต้องผ่านการประชุมใช้เวลานาน
- ทำบัญชีตามมาตราฐานและมีผู้ตรวจสอบและรับรอง
- เงินลงทุนจากหุ้นส่วน
- รับผลกำไรแบ่งตามสัดส่วน
- ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบในหนี้สินเฉพาะค่าหุ้นส่วนที่เป็นเจ้าของ
- เสียภาษีโดยคิดจากกำโร (15%-20%)
เมื่อพิจารณาในด้านภาษีระหว่างผู้ประกอบการในรูปแบบ "บุคคลธรรมดา" กับ "นิติบุคคล" พบว่ามีความแตกต่าง เริ่มจาก...
ㆍ การเสียภาษี
บุคคลธรรมดา : สำหรับ "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35% โดยการคำนวณภาษีมี 2 วิธี
วิธีที่ 1 เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีก้าวหน้า (เงินได้สุทธิ = รายได้ - รายจ่าย - ค่าลดหย่อน)
วิธีที่ 2 รายได้นอกเหนือจากเงินเดือน หรือค่าจางแรงงานก่อนหักค่าใช้จ่าย x 0.5%
ทั้งนี้ หากคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 แล้วไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีที่ 1
นิติบุคคล : ผู้ประกอบการจะเสียภาษีจากกำไรสุทธิ (รายได้รายจ่าย) อัตราภาษี หากเป็นนิติบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 20% สำหรับ SME มี การยกเว้น/ลดหย่อน อัตราภาษี ในลักษณะขั้นบันได สูงสุดไม่เกิน 20% ในกรณีขาดทุน ไม่ต้องเสียภาษีและยังสามารถนำผลขาดทุนไปหักกำไรปีต่อไปได้สูงสุดถึง 5 ปีด้วย (สำหรับ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิดิบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี) จะเห็นได้ว่า ระหว่างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จะแตกต่างกันตามรูปแบบของธุรกิจ ลองย้อนกลับมาดูว่าธุรกิจของ ท่านอยู่ในรูปแบบใด แล้วทำให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์โดยตรงต่อตัวธุรกิจของท่านเอง
ㆍ การคำนวณค่าใช้จ่าย
บุคคลธรรมดา : สามารถเลือกหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี อ 1. หักแบบเหมา ซึ่งไม่ต้องมีหลักฐานพิสูจน์รายจ่าย จึงสะดวกและง่าย
แต่ส่วนใหญ่จะหักได้น้อยกว่าหักค่าใช้จ่ายตามจริง แล: 2. หักตามจริง ซึ่งต้องมีหลักฐานพิสูจน์รายจ่ายนั้นๆ
นิติบุคคล :
ㆍ การหักค่าใช้จ่าย
สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สามารถนำรายการค่าใช้จ่ายบางประเภทมากหักได้มากกว่าคำใช้จ่ายจริง
เช่น การจ้างผู้สูงอายุทำงาน หักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า การจ้างนักศึกษาทำบัญชีใช้จ่ายได้ 2 เท่า การทำวิจัยและพัฒนา หักค่า
ใช้จ่ายได้ 3 เท่า การลงทุนซื้อเครื่องจักร หักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่า เป็นต้น
ㆍการหักค่าสึกหรอและ ด่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง
สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินบางประเภทในอัตราเร่งได้ (นับจากวันที่ได้มา) เช่น อาคารชั่วคราว หักได้ 100%
เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ และโรงงาน ห้กได้ 40% เป็นต้น (สำหรับ บริษั ทหรือห้างหุ่นส่วนนิดิบคคลที่มีทรัพยสินถาวรไม่รวมที่ดินไม่
เกิน 200 ล้านบาทและจ้างงานไม่เกิน 200 คน)
Copyright ©2021 Louis Accounting and Audit. Designed By Deesitedesign